![เหตุการณ์สำคัญ](https://investor.thaicreditbank.com/storage/banner/general-information.webp)
![เหตุการณ์สำคัญ](https://investor.thaicreditbank.com/storage/banner/general-information-mobile.webp)
เหตุการณ์สำคัญ
![](/storage/report/bg.webp)
2566
2565
2564
2562
2561
2560
2559
2558
2557
2556
2555
2553
2552
2551
2550
2549
2548
2513
2566
- ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของธนาคาร ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติอนุมัติให้ธนาคารฯ ซื้อคืนหุ้นลำดับคู่และสิทธิในการแปลงกายเลข จำนวน 74,750,000 หน่วย ซึ่งออกและจัดสรรให้แก่ VNB และ OCA ซึ่งจองซื้อด้วยราคาการเงินประเภทด้อยสิทธิ (Perpetual Bond) เพื่อสนับสนุนเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) โดยมีราคาซื้อคืนที่ 5.75 บาทต่อ 1 หน่วยไปสำเร็จหุ้นแสดงสิทธิ โดยธนาคารฯ ได้ดำเนินการซื้อคืนไปสำเร็จตามสิทธิดังกล่าวแล้วในเดือนมีนาคม 2566
- ธนาคารฯ ลดทุนจดทะเบียนจากจำนวน 6,598.17 ล้านบาท เป็นจำนวน 5,850.67 ล้านบาท ซึ่งเป็นการตัดหุ้นจดทะเบียนที่ยังมิได้ออกจำหน่ายจำนวน 74.75 ล้านหุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.0 บาท) ที่มีไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของธนาคารฯ ที่ได้ออกและเสนอขายให้แก่ VNB และ OCA ซึ่งจองซื้อด้วยราคาการเงินประเภทด้อยสิทธิ (Perpetual Bond) เพื่อสนับสนุนเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติการลดทุนจดทะเบียนดังกล่าวในเดือนมีนาคม 2566
- ธนาคารฯ เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) จากหุ้นละ 10.0 บาทเป็น 5.0 บาท
- ธนาคารฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 5,850.67 ล้านบาท เป็นจำนวน 6,174.20 ล้านบาท เพื่อรองรับการออกและเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก
- ธนาคารฯ ขยายผลิตภัณฑ์สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคลไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ (นอกเหนือจากกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ประจำ) ผ่านการเข้าทำสัญญาซื้อสิทธิเรียกร้องและสัญญาที่เกี่ยวข้องกับบริษัท แอสเซนด์ นาโน จำกัด ("Ascend Nano") เพื่อรับซื้อสิทธิเรียกร้องภายใต้สัญญาสินเชื่อที่ Ascend Nano เข้าทำกับลูกหนี้
- ธนาคารฯ เข้าทำสัญญาการเงินกับ International Finance Corporation (IFC) สำหรับเงินกู้ยืมระยะยาวจำนวน 105.0 ล้านบาทหรือยอดดอลลาร์สหรัฐฯ และการเบิกใช้วงเงินกู้ครั้งแรกจำนวนวันที่ 27 มิถุนายน 2566
- ธนาคารฯ ได้ออกและจำหน่ายตราสารด้อยสิทธิ เพื่อสนับสนุนเงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2) จำนวน 1,700.0 ล้านบาท ให้แก่ VNB ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566
- ธนาคารฯ ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์จากพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จากกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ และกำลังดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทและความประทับกับกระทรวงพาณิชย์ รวมถึง เริ่มดำเนินการภายใต้ชื่อ "ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)" (ชื่อเดิม "ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)") ในวันที่ 1 กันยายน 2566
- ธนาคารฯ ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นธนาคารรับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 จากกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566
- ธนาคารฯ ได้รับรางวัล Top Community Centric Companies in Asia จากงาน The Asia Corporate Excellent & Sustainability Awards 2023 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับบริษัทที่สร้างคุณค่าให้กับชุมชนผ่านโครงการต่างๆ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมโดยรวม ตอกย้ำภาพธนาคารที่พึ่งพิงชุมชนและการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนบริษัทผู้นำด้านชุมชน
2565
- ธนาคารฯ ออกแคมเปญ Stand by campaign เพื่อการสื่อสารถึงความมุ่งมั่นของธนาคารที่จะยืนหยัดเคียงข้างลูกค้าทุกคนในช่วงวิกฤต โดยเฉพาะในช่วงที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังยืดเยื้อ และเศรษฐกิจยังชะลอตัว ธนาคารฯ มองเห็นศักยภาพความเข้มแข็งของผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงออกผลิตภัณฑ์ SME OD เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือเสริมสภาพคล่องให้กับกลุ่มลูกค้าไมโครเอสเอ็มอี
- ในเดือนมีนาคม นางมิจิตราได้ใช้สิทธิแปลงสภาพ Warrant-M ทั้งจำนวน ทำให้นางมิจิตราถือหุ้นในธนาคารฯ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.83 เป็นร้อยละ 3.84 ของทุนชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ (ซึ่งเท่ากับ 5,156.25 ล้านบาท ภายหลังการเพิ่มทุนใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว)
- ธนาคารฯ ได้ยื่นขออนุมัติปรับฐานะจากธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย เป็นธนาคารพาณิชย์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่ง ณ วันที่ 2 กันยายน 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ธนาคารฯ ดำเนินการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารฯ มีแผนที่จะขยายการให้บริการไปยังสินเชื่อการค้าต่างประเทศ (Trade Finance) รวมถึงการให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศ
- ธนาคารฯ ได้รับรางวัลบูธสวยงามยอดเยี่ยม Best Design Excellence Award ประเภทพื้นที่ขนาด 200-220 ตรม. จาก ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในพิธีมอบรางวัลในงาน Money & Banking Awards 2021 โดยรางวัลดังกล่าวพิจารณาจากความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบบูธที่นำเสนอในงานมหกรรมการเงินครั้งที่ 21 Money Expo 2021 ซึ่งธนาคารได้นำเสนอภายใต้แนวคิด Sustainable Financial Life
- ธนาคารฯ ได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน Mobile Banking ภายใต้ชื่อ alpha by Thai Credit เพื่อมอบประสบการณ์ทางการเงินให้กับลูกค้าในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกสบายผ่านช่องทางมือถือ
- ธนาคารฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 5,903.75 ล้านบาท เป็นจำนวน 6,598.16 ล้านบาท เพื่อรองรับการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมทุกรายของธนาคารฯ (Rights Offering) จำนวน 66.67 ล้านหุ้น (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10.0 บาท) ซึ่งได้มีการเรียกชำระค่าหุ้นทั้งจำนวนแล้วในเดือนธันวาคม 2565 และรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของธนาคารฯ ให้แก่ผู้บริหารระดับสูง ("MSOP") จำนวน 2.775 ล้านหุ้น (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10.0 บาท)
- ธนาคารฯ จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิไทยเครดิต เพื่อต่อยอดปณิธานของธนาคารฯ ในการส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ทางการเงิน และมีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ (1) สร้างสรรค์เนื้อหาส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย ทันเหตุการณ์ (2) กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงความรู้ทางการเงินได้โดยง่ายผ่านการอบรมทั้งในรูปแบบชั้นเรียน และออนไลน์ และ (3) พัฒนาเนื้อหาและหลักสูตรความรู้ทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน พัฒนาอาชีพ และสร้างรายได้
2564
- ธนาคารฯ ได้ออกตราสารประเภทด้อยสิทธิ์ไม่กำหนดเวลาในการชำระคืน (Perpetual Bond) จำนวน 1,000.0 ล้านบาทให้กับบริษัท วี เอ็น บี โฮลดิ้ง จำกัด (“VNB”) และจำนวน 150 ล้านบาทให้กับ OCA ซึ่งสามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสร้างความแข็งแกร่งให้กับเงินกองทุนของธนาคารฯ และได้ออกและจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของธนาคารฯ ให้แก่ VNB และ OCA ซึ่งเป็นผู้ถือตราสารด้อยสิทธิดังกล่าวจำนวน 65.0 ล้านหน่วย และ 9.75 ล้านหน่วยตามลำดับ ซึ่งมีอัตราการใช้สิทธิ์ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ ต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยวันครบอายุของใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว คือวันที่ 27 พฤษภาคม 2574
- ธนาคารฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 5,156.25 ล้านบาท เป็นจำนวน 5,903.75 ล้านบาท เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิข้างต้น
2562
- ธนาคารฯ ได้ออกและจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของธนาคารฯ ให้แก่นายรอยย์ จำนวน 15.625 ล้านหน่วยแทนใบสำคัญแสดงสิทธิที่ธนาคารฯ ได้ออกและจัดสรรในปี 2557 และปี 2560 ซึ่งมีอัตราการใช้สิทธิ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุน (“Warrant-M”) โดยวันครบอายุของใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวคือวันที่ 31 มีนาคม 2565 ซึ่งต่อมาในปี 2565 นายรอยย์ได้โอน Warrant-M ทั้งหมดให้กับนางมิจิตรา กุนารา ซึ่งเป็นคู่สมรสของคุณรอยย์ (“นางมิจิตรา”)
- OCA Investment Holdings I Pte. Ltd. (“OCA”) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม Olympus Capital Asia ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจการร่วมลงทุน (Private Equity Firm) เข้าซื้อหุ้นของธนาคารฯ จำนวน 125 ล้านหุ้น จาก Polaris Capital ทำให้ OCA ถือหุ้นในธนาคารฯ ร้อยละ 25.0
- TMDS ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับจากธนาคารแห่งประเทศไทย และเปิดตัวแอปพลิเคชัน “ไมโครเพย์” (Micro Pay e-Wallet) เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคไปยังสังคมไร้เงินสด และเพิ่มประสิทธิภาพของสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อยและการจัดการเงินสด
- ธนาคารฯ แสดงศักยภาพการเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่ดีที่สุด ด้วยการรักษาระดับมาตรฐานการเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2557 (ไม่รวมรายได้ดอกเบี้ยของบริษัท ชนบรรณฑ์ จำกัด ซึ่งธนาคารฯ ได้ขายหุ้นในบริษัทดังกล่าวในปี 2557) เป็นต้นมาจนถึงปี 2561 ซึ่งมีรายได้ดอกเบี้ยเติบโตเฉลี่ยสะสมเท่ากับร้อยละ 25.0 ต่อปี และธนาคารฯ ได้รับรางวัลธนาคารเพื่อรายย่อยที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทยจากนิตยสาร Global Banking & Finance Review ประเทศอังกฤษ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
- ธนาคารฯ ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME กล้าให้ เพื่อผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs แบบสินเชื่อมีหลักทรัพย์ค้ำประกันและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อเป็นการขยายธุรกิจ เป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือเสริมสภาพคล่อง
- ธนาคารฯ ขยายการให้บริการสินเชื่อไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อย โดยออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล เพื่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ประจำในระดับกลางถึงสูง
2561
- ก่อตั้งบริษัท ไทยไมโคร ดิจิทัล โซลูชั่นส์ จำกัด (“TMDS”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของธนาคารฯ ที่ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของทุนชำระแล้วทั้งหมด เพื่อให้บริการด้านธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชัน “ไมโครเพย์” (Micro Pay e-Wallet)
- ธนาคารฯ ได้รับรางวัลธนาคารเพื่อรายย่อยที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทยจากนิตยสาร Global Banking & Finance Review ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
2560
- ธนาคารฯ ได้รับรางวัลธนาคารเพื่อรายย่อยที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทยจากนิตยสาร Global Banking & Finance Review จากผลการดำเนินงานอันโดดเด่นของธนาคารฯ ในการทำผลกำไรสุทธิเพิ่มโตอย่างมีนัยสำคัญเป็นเวลา 3 ปีซ้อน (ในระหว่างปี 2557 – 2559)
- ธนาคารฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 4,125.0 ล้านบาท เป็นจำนวน 5,156.25 ล้านบาท
2559
- ธนาคารฯ ริเริ่มโครงการดังโด Know-how ในการกิจส่งเสริมความรู้ทางการเงิน และให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ในการวางแผนทางการเงิน การออมเงิน การจัดการหนี้ และการบริหารความเสี่ยงทางการเงินในภาวะวิกฤตแก่ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการ SME รวมทั้งประชาชนทั่วไป ที่เป็นมนุษย์เงินเดือน การมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจทางการเงินที่ดี จะช่วยให้ผู้เข้าอบรม สามารถตัดสินใจในการบริหารการเงินได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต และเพิ่มขีดความสามารถในการดำรงชีวิตให้มีความมั่นคง และสร้างคุณค่าในตัวเองมากยิ่งขึ้น
2558
- ธนาคารฯ เริ่มให้บริการสินเชื่อไมโครและนาโนเครดิตเพื่อคนค้าขาย ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์รายแรกที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้อย่างปลอดภัยและเป็นธรรม โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน
- ธนาคารฯ ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านแลกเงิน (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้าน) ซึ่งเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้าน มีการเพิ่มรายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Product Feature) ที่ลูกค้าสามารถเลือกที่จะนำเงินสินเชื่อไปปิดบัญชีสินเชื่อประเภทอื่น ๆ เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย หรือเป็นการรวมหนี้อื่น ๆ มาไว้ที่เดียว
- ธนาคารฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 3,125.0 ล้านบาท เป็นจำนวน 4,125.0 ล้านบาท
2557
- ธนาคารฯ ได้ขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท ชนบรรณฑ์ จำกัด เนื่องจากธนาคารฯ มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนตามแผนการดำเนินธุรกิจในการเน้นให้บริการสินเชื่อสำหรับรายย่อย
- ธนาคารฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 3,000.0 ล้านบาท เป็นจำนวน 3,125.0 ล้านบาท
2556
- ธนาคารฯ ริเริ่มการให้บริการสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อย โดยเป็นสาขาที่ให้บริการเฉพาะสินเชื่อและมีสถานที่ตั้งในบริเวณแหล่งชุมชนใกล้สถานประกอบการของผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นโมเดลสาขาที่แตกต่างจากสาขาของธนาคารโดยทั่วไป เน้นการให้บริการที่รองรับความต้องการเข้าถึงสินเชื่อในระบบของกลุ่มลูกค้าธุรกิจรายย่อยได้อย่างครอบคลุม
2555
- Polaris Capital Investment Limited (“Polaris Capital”) ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Private Equity ภายใต้กลุ่ม Northstar ที่มีการลงทุนในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารฯ จำนวน 50 ล้านหุ้น ซึ่งทำให้ Polaris Capital ถือหุ้นในธนาคารฯ ร้อยละ 25.0
- ธนาคารฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทีมบริหาร และนายวิญญู ไชยวรรณ เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ที่บริหาร และนายรอยย์ ออกุสตินัส กุนารา (“นายรอยย์”) เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตมุ่งสู่ “ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่ดีที่สุด”
2553
- ธนาคารฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 1,500.0 ล้านบาท เป็นจำนวน 2,000.0 ล้านบาทในเดือนเมษายน 2553 และเป็นจำนวน 3,000.0 ล้านบาทในเดือนตุลาคม 2553
2552
- ธนาคารฯ ได้ขยายธุรกิจการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ารายย่อยในประเทศ ด้วยการลงทุนเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของบริษัท ชนบรรณฑ์ จำกัด
- ธนาคารฯ ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจจำนำหลักทรัพย์จากกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ แบบ ง ทำให้ธนาคารฯ สามารถเป็นตัวแทนจำหน่ายกองทุนรวมได้
2551
- ธนาคารฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 1,000.0 ล้านบาท เป็นจำนวน 1,500.0 ล้านบาท
2550
- ธนาคารฯ ได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันกับสถาบันการเงินอื่น
- ธนาคารฯ ได้เปลี่ยนชื่อจากบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ไทยเคหะ จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารฯ ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันให้กับลูกค้าสินเชื่อ ลูกค้าเงินฝาก และลูกค้าทั่วไป
2549
- ธนาคารฯ ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2549 เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
2548
- ธนาคารฯ ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ชื่อบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ไทยเคหะ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2548 ที่ทุนจดทะเบียนเท่ากับ 300.0 ล้านบาท และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็นจำนวน 1,000.0 ล้านบาท
2513
- ธนาคารฯ จัดตั้งขึ้นภายใต้ชื่อบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ไทยเคหะ จำกัด โดยประกอบธุรกิจให้บริการทางการเงิน