ธนาคารไทยเครดิต กับ ESG

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ยึดมั่นในการที่จะดำเนินกิจการธนาคารที่ยั่งยืน (Sustainable banking) อย่างมีความรับผิดชอบ (Responsibility) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสร้างความยั่งยืนในสามมิติ หรือที่เรียกว่า ESG คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคมและพนักงาน (Social and employee) และ ธรรมาภิบาล (Governance) ผ่านการดำเนินงานของธนาคารและพนักงานทุกคน โดยมุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและสังคมในระยะยาว ดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม พนักงาน และอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี (ESG) เพื่อการนำไปสู่การดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืน

ธนาคารไทยเครดิตดำเนินงานภายใต้หลักการ ESG เพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความยั่งยืนในทุกมิติ

ด้านสิ่งแวดล้อม

ธนาคารโดยคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของธนาคารมุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและสังคมในระยะยาว โดยดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ โดยมีการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงานในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ รวมถึงความพยายามในการมีส่วนร่วมกับสังคม ชุมชน และลูกค้าของธนาคารในอันที่จะส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ธนาคารได้จัดให้มีนโยบายด้านความเสี่ยง นโยบายสินเชื่อและกระบวนการพิจารณาสินเชื่อแก่ธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยสินเชื่อ และผลกระทบต่อชื่อเสียงของธนาคาร นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible lending) ให้กับโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลเสียต่อชุมชน ซึ่งเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

ด้านสังคม

ธนาคารมีปณิธานที่จะมุ่งมั่นให้ลูกค้าและประชาชนโดยทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารเงินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจและชีวิตประจำวันและมีโอกาสที่สามารถจะเข้าถึงระบบการเงินที่มั่นคง ปลอดภัย และมีความยุติธรรม โดยการพิจารณาการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible lending) อีกทั้งธนาคารยังเล็งเห็นความสำคัญของการเคารพความแตกต่างและความเสมอภาคทั้งภายในองค์กรและห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะการส่งเสริมแรงงานสตรี ให้สามารถสร้างโอกาสในการเติบโตทางวิชาชีพแก่บุคลากรภายใน และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจแก่ลูกค้าในห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) อย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฎิบัติทางเพศ

ด้านธรรมาภิบาล

ธนาคารโดยคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของธนาคาร ยึดมั่นการดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบายหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือธรรมาภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) และจริยธรรมและจรรยาบรรณธนาคาร ตามที่ธนาคารได้กำหนดและมีการประกาศใช้ ทั้งในส่วนของบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และพนักงาน เป็นกลไกสนับสนุนการปฏิบัติงานและการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลและเท่าทันความเสี่ยง และการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมและวัฒนธรรมองค์กรที่มีการคำนึงถึงความเสี่ยง ความเป็นธรรม และความโปร่งใส จะทำให้ธนาคารสามารถบริหารความเสี่ยงและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างครอบคลุม สร้างคุณค่าให้กับธนาคารได้อย่างเหมาะสมในระยะยาว ตลอดจนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

ด้านการดูแล ส่งเสริม และพัฒนาพนักงาน

ธนาคารให้ความสำคัญกับพนักงานทุกระดับ ในฐานะทรัพยากรที่มีคุณค่าขององค์กร และเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้การดำเนินงานบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมุ่งมั่นที่จะบริหาร พัฒนา และธำรงรักษาพนักงาน เพื่อให้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานและความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนให้กับธนาคาร ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงานและแนวทางการปฏิบัติที่เป็นสากล ด้วยการเคารพในสิทธิ เกียรติ ศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมของพนักงานทุกท่าน โดยมีการดำเนินการผ่านการกำหนดนโยบายการจ้างงาน การบริหารจัดการระบบค่าตอบแทน รวมทั้งสวัสดิการต่างๆ อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานอย่างมีจริยธรรม จรรยาบรรณที่ดีของพนักงาน และจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน โดยคำนึงถึงมาตรฐานสากล ธนาคารได้ให้ความสำคัญด้านการเติบโตในหน้าที่การงานและการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง ผ่านการฝึกอบรมและการสื่อสารอย่างทั่วถึง เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรองรับการเจริญเติบโตของธนาคาร และเพื่อการเติบโตในหน้าที่การงานตามความรู้ความสามารถของพนักงานในที่สุด ซึ่งรวมไปถึงธนาคารมีแผนงานด้านการส่งเสริมในเรื่องความผูกพันและการรักษาพนักงาน เช่น Emmag, Emwatch และกิจกรรม Outing เป็นต้น

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

$
เศรษฐกิจ
E
สิ่งแวดล้อม
S
สังคม
G
ธรรมาภิบาล
  • 1.
    ความผันผวนทางเศรษฐกิจ
  • 2.
    หนี้ครัวเรือนและความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ของลูกค้า
  • 3.
    การเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจ
  • 4.
    เทคโนโลยีดิจิทัล
  • 5.
    ระบบ Environmental & Social Management System (ESMS)
  • 6.
    ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 7.
    ผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียว
  • 8.
    สร้างความตระหนักรู้ด้าน ESG
  • 9.
    ประสบการณ์และความพึงพอใจของลูกค้า
  • 10.
    เพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคาร
  • 11.
    ให้ความรู้ทางการเงินเพื่อสร้างความเข้าใจและวินัยทางการเงิน
  • 12.
    การส่งเสริมและพัฒนาสังคมและชุมชน
  • 13.
    ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลลูกค้า
  • 14.
    ให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกค้าประสบปัญหา
  • 15.
    การดูแลและพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
  • 16.
    การดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูง
  • 17.
    สิทธิมนุษยชนของลูกค้า พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ และสังคม
  • 18.
    การประเมินและการจัดการความเสี่ยง
  • 19.
    การกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมองค์กร
  • 20.
    การให้กู้ยืมและการทำการตลาดอย่างมีความรับผิดชอบ

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ

ธนาคารฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารงานและการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และเป็นธรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี พร้อมยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบาย “การกำกับดูแลการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม” (Market Conduct) และ “การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ” (Responsible Lending) ด้วยความเชื่อมั่นในแนวคิด “Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ” ตลอดเส้นทางสร้างการเติบโตทางธุรกิจ ธนาคารฯ มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง เรียบง่าย และโปร่งใส โดยกำหนดนโยบาย มาตรการ รวมถึงระบบงานในการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงการควบคุมดูแล ติดตาม และตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และระบบงานที่วางไว้ พร้อมทั้งทบทวนความเหมาะสมของนโยบายธนาคารฯ และแนวทางที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม